ฮีตเตอร์ของเครื่องห่อแนวนอน
ก่อนจะเข้าสู่เนื้อหาเรื่องฮีตเตอร์ของเครื่องห่อแนวนอน จะขอเกริ่นนำให้ผู้อ่านได้ทราบเกี่ยวกับฮีตเตอร์ในเบื้องต้นกันก่อน ฮีตเตอร์ (Heater) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับทำความร้อนโดยมีใช้งานกันอย่างแพร่หลาย ตั้งแต่ภาคครัวเรือนไปจนถึงภาพอุตสาหกรรม โดยมีหลักการในการทำงานพื้นฐานคือ เมื่อกระแสไฟฟ้าไหลผ่านลวดตัวนำที่มีค่าความต้านทานสูง ลวดตัวนำนั้นจะเกิดความร้อนขึ้น โดยแปรผันตรงกับกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านขดลวดนั่นเอง ดังนั้นลวดที่จะนำมาผลิตฮีตเตอร์จึงจะต้องเป็นลวดที่มีความเหนียว และมีคุณสมบัติในการทนความร้อนได้สูง แต่ภายในฮีตเตอร์ไม่ได้มีเพียงแค่ลวดทำความร้อนเพียงเท่านั้น ยังมี แมกนีเซียมออกไซด์ (MgO) ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวกั้นกลางระหว่างลวดฮีตเตอร์กับตัวปลอกโลหะ เพื่อป้องกันไม่ให้มีกระแสรั่วไหล (Leak current) จากลวดฮีตเตอร์ไปสู่พื้นผิวโลหะ โดยตัวแมกนีเซียมออกไซด์จะมีค่าความนำไฟฟ้าต่ำ แต่สามารถนำความร้อนได้เป็นอย่างดี โดยจุดสำคัญของการผลิตฮีตเตอร์คือ การป้องกันไม่ให้มีความชื้นในฉนวนโดยเด็ดขาด เนื่องจากความชื้น จะทำให้มีค่านำไฟฟ้าที่สูงขึ้น ทำให้อาจจะเกิดอันตรายได้ โดยการผลิตฮีตเตอร์นั้นจะต้องมีการทดสอบหลายขั้นตอนเพื่อให้ได้ฮีตเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุด โดยหนึ่งในนั้นคือ Insulation Test เพื่อเป็นการทดสอบค่าความเป็นฉนวนของฮีตเตอร์ ให้มีความมั่นใจได้ว่าเมื่อฮีตเตอร์ถูกนำไปใช้งานจริง จะไม่มีมีกระแสรั่วไหลออกมา ซึ่งอาจจะทำให้เกิดอันตรายกับผู้ใช้งานได้
ฮีตเตอร์นั้น จะแบ่งออกได้เป็นหลากหลายชนิดตามลักษณะการนำไปใช้งาน เช่น
- ฮีตเตอร์ท่อกลม หรือฮีตเตอร์ครีบ (Tubular or Finned heater) ใช้สำหรับให้ความร้อนในอากาศ เช่น ห้องอบแห้ง, เตาอบ
- ฮีตเตอร์แท่ง (Cartridge Heater) ใช้สำหรับให้ความร้อนกับของแข็ง เช่น เหล็ก หรือโลหะ
- ฮีตเตอร์ต้มน้ำ (Immersion Heater) ใช้สำหรับให้ความร้อนกับของเหลวทุกประเภท เช่น ต้มน้ำ หรือต้มน้ำมัน
- ฮีตเตอร์บอบบิ้น (Bobbin Heater) ใช้สำหรับให้ความร้อนกับของเหลว เช่นเดียวกันกับฮีตเตอร์ ต้มน้ำ
- ฮีตเตอร์อินฟราเรด (Infrared Heater) เป็นฮีตเตอร์ที่มีความพิเศษกว่าฮีตเตอร์ชนิดอื่น เนื่องจากสามารถให้ความร้อนกับวัตถุ โดยไม่ต้องมีการสัมผัสวัตถุนั้นๆ โดยฮีตเตอร์ลักษณะนี้ จะไม่เหมาะกับการนำมาใช้งานกับชิ้นงานที่มีความมันวาว เนื่องจากวัตถุลักษณะนี้จะมีคุณสมบัติในการสะท้อนแสง ทำให้ไม่สามารถดูดซับรังสีอินฟราเรดได้อย่างเต็มที่
- ฮีตเตอร์รัดท่อ (Band Heater) ใช้สำหรับให้ความร้อนกับท่อ หรือถังที่มีรูปทรงเป็นทรงกระบอก
- ฮีตเตอร์ไทเทเนียม (Titanium Heater) เหมาะสำหรับการนำไปใช้ต้มสารเคมีที่มีความเป็นกรดเข้มข้นสูง เนื่องจากๆไทเทเนียมเป็นโลหะที่มีความแข็ง แต่มีน้ำหนักเบาจึงมีความทนทานต่อการกระแทกได้มากกว่าฮีตเตอร์หลอดแก้ว
- ฮีตเตอร์อลูมิเนียม (Aluminum Heater) เป็นฮีตเตอร์ที่มีคุณลักษณะพิเศษคือ เป็นฮีตเตอร์ที่สามารถสั่งทำให้มีรูปร่างตามที่ต้องการได้ ตัวฮีตเตอร์หล่อด้วยอลูมิเนียมเพื่อให้สามารถใช้งานได้กับอุณหภูมิสูง มีความทนทาน และมีอายุการใช้งานที่ยาวนานยิ่งขึ้น
- ฮีตเตอร์เทปล่อน (Teflon Heater) เป็นฮีตเตอร์ที่เหมาะสำหรับนำไปใช้งานต้มสารเคมี โดยใส่ท่อเทปล่อนไว้ภายในท่อฮีตเตอร์ ทำให้ตัวฮีตเตอร์ที่ให้ความร้อนจะไม่มีการสัมผัสกับสารเคมีเลย เหมาะสำหรับนำไปใช้งานในห้องแลป หรือโรงงานผลิตสารเคมี
มาถึงฮีตเตอร์ที่เรานำมาใช้งานกับเครื่องห่อแนวนอน นั่นก็คือ ฮีตเตอร์แท่ง หรือ Cartridge Heater นั่นเอง
โดยฮีตเตอร์ของเครื่องห่อแนวนอนตัวนี้ จะมีหน้าที่ในการให้ความร้อน เพื่อทำให้พลาสติก หรือฟิล์มติดกันนั่นเอง
ฮีตเตอร์แท่ง หรือคาร์ทริดจ์ฮีตเตอร์ (Cartridge Heater) จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
- ไฮวัตต์เดนซิตี้ (HD)
- โลว์วัตต์เดนซิตี้ (LD)
ข้อดีของรุ่นไฮวัตต์เดนซิตี้ คือ ตัวฮีตเตอร์จะมีความทนทานมีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่ารุ่น โลวว์วัตต์เดนซิตี้ ส่วนข้อดีของรุ่นโลว์วัตต์เดนซิตี้ คือ มีราคาถูกกว่า แต่จะเหมาะสำหรับนำไปใช้กับงานที่ไม่ต้องการอุณหภูมิที่สูงมากเท่านั้น ตัวอย่างการนำไปใช้ในงานให้ความร้อน เช่น แท่นฮีตเตอร์ของเครื่องห่อแนวนอน แม่พิมพ์ หัวพ่นกาว แผ่นเพลท เครื่องพิมพ์ทอง หัวปั๊ม ชิ้นงานเหล็ก เครื่องรีดถุงพลาสติก เครื่องห่อซองพลาสติกใส่อาหาร และขนม นอกจากนี้ยังสามารถนำมาใส่เกลียวเพื่อต้มน้ำยาเคมีกาวในท่อ หรือ ถาดได้อีกด้วย
คาร์ทริดจ์ฮีตเตอร์ หรือฮีตเตอร์แท่ง เป็นฮีตเตอร์ที่ทำงานได้ที่อุณหภูมิสูง ตัวฮีตเตอร์ประกอบด้วยปลอกสเตนเลสคุณภาพดี แกนพันขดลวดทำมาจากแมกนีเซียมออกไซด์อัดขึ้นรูปเป็นแท่ง โดยมีขดลวดความร้อน Ni-Cr พันรอบแกนลวด และเทผงแมกนีเซียมออกไซด์อัดแน่นอยู่รอบนอกอีกที โดยให้ตัวฮีตเตอร์กับตัวปลอกห่างกันเล็กน้อย ทำให้การส่งผ่านความร้อนทำได้ดี และยังช่วยให้อายุการใช้งานของฮีตเตอร์ยาวนานขึ้นอีกด้วย โดยบริษัทของเราเป็นผู้ผลิต และผู้จำหน่ายฮีตเตอร์มาอย่างยาวนาน โดยมีทีมงานวิศวกรที่มีความเชี่ยวชาญคอยให้คำปรึกษา สามารถผลิตฮีตเตอร์ได้จำนวนวัตต์ และความยาวตามความต้องการของคุณลูกค้าได้อย่างแน่นอน
วิธีการสั่งผลิตฮีตเตอร์
สามารถสั่งผลิตได้ด้วยขั้นตอนเพียง 3 ขั้นตอนเท่านั้น
- กำลังวัตต์ที่ต้องการ
- ความยาวที่ต้องการ
- เส้นผ่านศูนย์กลางที่ต้องการ
เพียงเท่านี้ คุณลูกค้าก็จะได้ฮีตเตอร์ตามที่คุณลูกค้าต้องการอย่างแน่นอน